การบำบัดน้ำเสียแบ่งออกเป็น 4 กระบวนการใหญ่ๆดังนี้

  1. การบำบัดน้ำเสียด้วยกระบวนการกายภาพ (Physical Wastewater Treatment Process)
  2. การบำบัดน้ำเสียด้วยกระบวนการเคมี (Chemical Wastewater Treatment Process)
  3. การบำบัดน้ำเสียด้วยกระบวนการชีวภาพ (Biological Wastewater Treatment Process)
  4. การบำบัดน้ำเสียขั้นสูง (Advanced Wastewater Treatment Process)

ก่อนที่จะทำการออกแบบ ก่อสร้าง สั่งซื้อ หรือควบคุม ระบบบำบัดน้ำเสียนั้น ต้องมีความรู้ความเข้าใจในระบบนั้นๆเสียก่อน เช่น

  • ต้องการบำบัดอะไรในน้ำเสีย
  • ค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสียต่อหน่วย เช่น ___บาท/m3
  • งบประมาณในการก่อสร้างระบบบำบัดฯ
  • การกำจัดมลสารนั้นๆ ต้องแยกบำบัด หรือสามารถบำบัดรวมกันได้กับมลสารตัวอื่น
  • พื้นที่ในการก่อสร้างระบบบำบัดฯ
  • พื้นที่ในการควบคุมระบบบำบัดฯ
  • พื้นที่ในการซ่อมบำรุงระบบบำบัดฯ
  • วิธีการควบคุมระบบบำบัดฯ
  • การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

บทความวันนี้ เกี่ยวกับ BOD COD นะจ๊ะ

BOD = Biochemical Oxygen Demand

COD = Chemical Oxygen Demand

แอดพยายามทำให้ ง่ายๆ สั้นๆ จะได้ไม่น่าเบื่อ

เชิญอ่านได้จ้า

ใครอยากให้กำลังใจแอด กด like กด Share ได้เลยจ้า

, ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย

————————————–

การวัด Sludge Volume 30 หรือ SV30 ในระบบเติมอากาศ บ่งบอกอะไรได้บ้าง

วิธีการวัดค่า SV30 คือ การตักน้ำเสียในบ่อเติมอากาศแล้วตั้งทิ้งไว้ 30 นาที โดยใช้กรวยอิมฮอฟฟ์ (Imhoff Cone) ในการอ่านค่าปริมาณตะกอน (Sludge)

หน่วยที่อ่านได้ต้องเป็น มิลลิลิตร ต่อ ลิตร (ml/l)

แล้วเราสามารถดูอะไรได้บ้างจากการวัด SV30 แต่ละครั้ง :

  1. ปริมาณตะกอนจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในระบบได้ โดยสังเกตุจากปริมาตรที่บอกข้างกรวยอิมฮอฟฟ์
  2. การตกตะกอนของเชื้อจุลินทรีย์ สามารถดูได้ว่าเชื้อตะกอนนั้นตกได้ดีแค่ไหน มีตะกอนลอยหรือไม่
  3. ลักษณะของน้ำส่วนใสที่แยกชั้นกับตะกอนจุลินทรีย์ มีลักษณะเป็นอย่างไร มีตะกอนปะปนในน้ำหรือไม่
  4. สีของเชื้อตะกอน มีสีเป็นอย่างไร ดำ เหลือง หรือน้ำตาล เข้มหรืออ่อนเกินไป
  5. ใช้คำนวนการสูบตะกอนย้อนกลับ (Return Sludge) หรือ การทิ้งตะกอนออก (Excess Sludge)
  6. ใช้ตรวจสอบระบบเพิ่มเติมโดยการตั้งทิ้งไว้นานขึ้นเป็น 60 นาที และ 90 นาที เพื่อดูการเกิดตะกอนลอย (Rising Sludge) และการตะกอนไม่จมตัว (Bulking Sludge)
  7. ใช้ในการคำนวน Sludge Volume Index (SVI) หรือ ดัชนีปริมาตรตะกอน)

#SV30 #SVI #activatedsludge

, ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย, ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย

สวัสดีเช้าวันเสาร์วันนี้อากาศกำลังดี

เหมาะแก่บทความ”ความลับของ SV30″

การวัด SV30 นั้นเป็นการจำลองการตกตะกอนที่ ถังตกตะกอน(Sedimentation Tank) นั่นเอง

ลูกเพจต้องมีความเข้าใจในระบบและเข้าใจในการอ่านผลประมาณนึง แต่แอดจะช่วยให้ง่ายขึ้นเองนะ ^^

– SV30 มีค่าสูงมากๆ หมายความว่า มีโอกาสที่ตะกอนจะหลุดไปกับน้ำใส (AS &SBR)

– SV30 ตกไม่ดี หมายความว่า มีโอกาสที่ตะกอนจะหลุดไปกับน้ำใส

– SV30 ลอยอืดขึ้นมา หมายความว่า งานจะเข้าคนที่ดูระบบ อาจเกิดจาก Sludge Rising หรือ Sludge Bulking

– SV30 ตกดีแต่น้ำขุ่น หมายความว่า . . .

– SV30 น้อย หมายความว่า . . .

-SV30 ควรมีค่าเท่าไรถึงเหมาะสม

ท่านใดสนใจการบริการจาก ENCARE ทักเรามาได้เลยจ้า

————————————–

สวัสดีจ้า Post วันนี้เกี่ยวกับ

Granular Sludge (ตะกอนแบบเม็ด) ในระบบ UASB นะ ติดตามกันได้เลย ^^

Granular Sludge ในระบบ UASB เนี้ย มีหลายขนาด ส่วนมากเป็นเม็ดกลมๆ โดยแบ่งได้ 4 สถาวะ

  1. ช่วงเริ่มเดินระบบ : เชื้อจะยังไม่เป็นเม็ดอย่างชัดเจน
  2. ช่วงปรับสภาพ : เชื้อจะเริ่มจับเป็นก้อนใหญ่ขึ้น
  3. ช่วงเกิดเมล็ด : จะเป็นช่วงเกิดเมล็ดตะกอนเยอะขึ้นจำนวนมาก และหลุดไปกับน้ำบ้าง
  4. ช่วงสถาวะคงที่ : ช่วงนี้จะตะกอนเชื้อดี มีน้ำหนัก การเติมโตจะไม่มาก เชื้อที่หลุดจะน้อย ยกเว้นในระบบมีปริมาณมากๆ

, ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย

————————————–

ออกซิเจนละลายน้ำ (Dissolved Oxygen; DO)

สำหรับระบบบำบัดน้ำเสีย ชนิดใช้อากาศ (Aeration) ค่า DO มีความสำคัญมาก

หน่วยการวัดของ DO คือ มิลลิกรัมต่อลิตร (mg/l)

โดยปกติการวัดค่า DO ในระบบบำบัดน้ำเสียจะเป็นการวัดเพื่อทราบค่าออกซิเจนละลายน้ำที่เหลือจากการที่จุลินทรีย์นำออกซิเจนไปใช้ ทำให้เราได้ยินกันบ่อยๆว่า ควรเติมอากาศให้ค่า DO มากกว่า 2 mg/l ในบ่อเติมอากาศ

ออกซิเจนละลายน้ำได้ดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ อุณหภูมิ, ความเค็ม, ความดันบรรยากาศ และความลึกของน้ำ

– อุณหภูมิในน้ำลดลง : ออกซิเจนจะละลายได้มากขึ้น

– อุณหภูมิในน้ำเพิ่มขึ้น : ออกซิเจนจะละลายได้น้อยลง

– น้ำที่มีความเค็มมาก : ออกซิเจนจะละลายได้น้อยลง

– ความดันของอากาศเพิ่ม : ออกซิเจนละลายได้น้อยลง

– ระดับน้ำยิ่งลึก : ออกซิเจนละลายน้ำได้ลดลง

การวัดค่า DO ในระบบบำบัดน้ำเสีย

– ความสกปรกของน้ำเสียที่เข้ามาก : DO จะลดลง

– ปริมาณจุลินทรีย์ในระบบมาก : DO จะลดลง

– ปริมาณน้ำเสียเข้าระบบมาก : DO จะลดลง

– วัดค่า DO ใกล้จุดจ่ายอากาศ : DO มากเกินไป

– สิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น แพงก์ตอน มาก : DO จะลดลง

– สาหร่ายมาก ตอนที่สังเคราะห์แสง : DO เพิ่มขึ้น

การเติมอากาศให้ฟองละเอียดและทั่วถึงทั้งบ่อ หรือ การทำให้อากาศละลายน้ำได้มากๆ ก็มีส่วนช่วยในการประหยัดพลังงานและช่วยเพิ่มค่า DO ในน้ำได้ (หากเครื่องเติมอากาศขนาดเท่ากัน)

แต่ถึงอย่างไรถ้าการเติมอากาศจนวัดค่า DO มากกว่า 2 mg/l แล้ว ก็ใช่ว่าจะบำบัดน้ำเสียได้ เพราะการบำบัดน้ำเสียต้องอาศัยจุลินทรีย์ในการย่อยสลายสารอินทรีย์เป็นหลัก การเติมอากาศเป็นเพียงการช่วยให้จุลินทรีย์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เพื่อบำบัดน้ำเสีย

#DO #dissolveoxygen

, ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย , ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย , ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย

————————————–

ตื่นจ้า ตื่นจ้า บ่ายๆแบบนี้อย่าพึ่งง่วงกันนะ (^^,

วันนี้แอด update ความรู้แบบอ่านง่ายๆเกี่ยวกับ

Disinfection Process (กระบวนการฆ่าเชื้อ)

ทั้งนี้การติดตั้ง และการเลือกระบบที่จะใช้นั้น

ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ความต้องการ งบประมาณ พื้นที่หน้างาน และอื่นๆ
กระบวนการฆ่าเชื้อที่นิยมใช้กันมีอยู่ 3 วิธี จากหลายๆวิธี

1.การเติมคลอรีน (Chlorine Cl)

2.การใช้ UV (Ultraviolet)
3.การใช้ โอโซน (Ozone O3)

ข้อควรระวัง ราคา ค่าบำรุงรักษา สารตกค้าง สามารถดูได้จากในรูปภาพ

หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับลูกเพจ นะจ๊ะ Take Care

, ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย

————————————–

ระบบ Airlift Pump หรือ ระบบการใช้อากาศนำพา

วันนี้จะพามารู้จักระบบ Airlift Pump หลักการของระบบ คือ การอัดอากาศเข้าด้านข้างหรือด้านล่างของท่อที่แช่อยู่ในน้ำ ทำให้อากาศและน้ำเกิดการผสมกันจนความหนาแน่นบริเวณนั้นน้อยกว่าน้ำด้านล่างที่มีความหนาแน่นสูง อากาศจะดึงน้ำให้ไหลไปยังปลายทางที่ความหนาแน่นน้อย

เรามักเห็นระบบ Airlift Pump ในถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปอย่างแพร่หลาย ซึ่งใช้ในการ Return Sludge และ Excess Sludge

ข้อดี-ข้อเสีย Airlift Pump กับระบบบำบัดน้ำเสีย ดังนี้

ข้อดี :

– ใช้พลังงานต่ำ

– ใช้การดึงตะกอน หรือ ของแข็งในน้ำได้

– น้ำหรือตะกอนที่ถูกดึงกลับจะมีอากาศผสมเข้าไป

ข้อเสีย :

– ควบคุมปริมาณการสูบตะกอนกลับได้ยาก

– หากเปิดวาล์ว Airlift มากไปจะทำให้การเติมอากาศในบ่อเติมอากาศลดลง (ส่วนมากถังสำเร็จจะใช้เครื่องเติมอากาศร่วมกันระหว่างการสูบตะกอนกลับและการเติมอากาศปกติ)

– สูบตะกอนกลับตลอดเวลา ทำให้น้ำเสียที่เข้าถังเติมอากาศมี HRT ลดลงจากการรีเทิร์น

– ไม่เหมาะกับระดับน้ำที่ลึกมากๆ เพราะต้องใช้อากาศมาก ระบบ Airlift Pump ถึงจะทำงานได้มีประสิทธิภาพ

– หากตะกอนมีความหนืดมากๆ ระบบ Airlift Pump จะดูดไม่ไป

การควบคุมระบบ Airlift Pump สำหรับถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป

– ไม่เปิดวาล์วลม Airlift Pump มากเกินไป เพราะจะไปลดลมที่เข้าระบบเติมอากาศทำให้อากาศไม่พอเลี้ยงเชื้อ

– หากเปิดวาล์วลม Airlift Pump น้อยเกินไป จะสูบตะกอนไม่ได้

– ถังสำเร็จรูปจะ Excess Sludge ไปส่งนเกรอะของถัง ต้องระวังเรื่องการสูบเช่นเดียวกับการ Return Sludge

– ควรหมั่นตรวจสอบค่า DO ในบ่อเติมอากาศ ให้มีค่า DO มากกว่า 2.0 mg/l

– ควรตรวจเช็คค่า SV30 หากมีปริมาณมากให้ Excess Sludge ออกบ้าง

– หมั่นตรวจเช็คระบบวาล์ว Airlift ในถังให้สามารถทำงานได้ตามปกติ โดยเปิดวาล์วสุดและปิดสุด เพื่อทดสอบการทำงาน

#airlift #ระบบบำบัดน้ำเสีย #ถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป

, ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย

————————————–

หน่วย ppm , ppt คืออะไร

หน่วย ppm คือ part per million หรือ ส่วนในล้านส่วน

หน่วย ppt คือ part per thaosand หรือ ส่วนในพันส่วน

หลายคนอาจจะเคยชินหรือได้ยินว่า ppm หรือ mg/l คือ หน่วยเดียวกัน จริงๆแล้วไม่ใช่หน่วยเดียวกัน ขึ้นอยู่กับว่าเทียบกับอะไร

น้ำเสีย 1 ppm เท่ากับ 1 mg/l

ของเสีย 1 ppm เท่ากับ 1 mg/kg

อากาศเสีย 1 ppm ไม่เท่ากับ 1 mg/l หรือ 1 mg/m3

ที่ 1 ppm ของน้ำเสีย เท่ากับ 1 mg/l เพราะน้ำมีน้ำหนักที่ปริมาตร 1 ลิตร = 1 kg จึงได้ว่า 1 mg/l = 1 mg/kg

ส่วนอากาศเสียนั้นต้องขึ้นอยู่กับน้ำหนักสารมิลพิษที่เทียบด้วย โดยแปลงจาก ppm ไปเป็น mg/m3 ดังสูตรนี้

C(mg/m3) = C(ppm) * MW(g) / 24.4

กำหนดให้ :

– C (mg/m3) = ความเข้มข้นของสารพิษ ในหน่วยน้ำหนักต่อปริมาตร, mg/m3

– ppm = ความเข้มข้นของสารพิษ ในหน่วยปริมาตรต่อปริมาณอากาศ, ppm

– MW = น้ำหนักโมเลกุลของสารพิษ (g)

– ค่า 24.4 = ปริมาตรในหน่วยลิตรของก๊าซใดๆ ที่ 1 g/mole ที่ 25 องศาเซลเซียส ความดัน 760 mmHg

เวลาอ่านค่าต่างๆบนเครื่องมือตรวจวัด พยามสังเกตุหน่วยให้ดี บางเครื่องจะเขียนเป็น ppt บางเครื่อง ppm

#ppm #แปลงหน่วยppm

, ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย , ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย , ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย

————————————–

F/M Ratio จะช่วยให้เราเข้าใจในตัวระบบบำบัด AS ได้ดีขึ้น นะจ๊ะ ใครที่ดูแลระบบ AS อยู่ลองคำนวณเล่นๆกันดู ^^
การคำนวณ F/M ratio ของ Activated Sludge

F/M ratio คือปริมาณสารอาหารหรือสารอินทรีย์ (BOD หรือ COD) ที่เข้ามาในระบบต่อปริมาณของจุลินทรีย์ในถังเติมอากาศ (Aeration Tank) ของระบบบำบัดน้ำเสีย การคำนวณ F/M ratio ทำให้รู้ค่าของระบบบำบัดน้ำเสียว่ามีสารอาหารเพียงพอต่อการต้องการของจุลินทรีย์มั้ยหรือว่ามีสารอาหารมากไปหรือน้อยไป F/M ratio ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่ควรคำนวณเพื่อตรวจสอบระบบ ค่า F/M ratio ของแต่ละระบบจะขึ้นอยู่กับการออกแบบ. F/M ratio ของระบบ Conventional Activated sludge ควรอยู่ที่ 0.2-0.4

ตัวอย่างการคำนวณ ดูได้จากรูปภาพ

ถ้าในระบบมีค่า F/M ratio สูงอาจเกิดจากสารอาหารมีค่าสูงขึ้นหรือจุลินทรีย์ในถังเติมอากาศมีน้อยควรลดการทิ้งตะกอน(Sludge) ถ้า F/M ratio ต่ำอาจเกิดจากสารอาหารลดลงหรือจุลินทรีย์มีปริมาณมากขึ้นให้เพิ่มการทิ้งตะกอน การที่ในระบบมีค่า F/M ratio ไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดปัญหาในการรวมตัวของตะกอนที่จะส่งผลถึงการตกตะกอนใน Secondary Sedimentation tank

, ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย

————————————–

การย่อยสลายแบบไม่ใช้อากาศ (Anaerobic Digestion)

กระบวนการง่ายๆ ที่มีประโยชน์ ^^

การย่อยสลายแบบไม่ใช้อากาศ (Anaerobic Digestion)

เป็นการใช้จุลินทรีย์กลุ่มที่ไม่ใช้อากาศมาย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย โดยการเปลี่ยนรูปแบบสารอินทรีย์ไปเป็นรูปแบบอื่นเช่น มีเทน(CH4) และ คาร์บอนไดออกไซด์(CO2)โดยกระบวนการ คือ

– Hydrolysis

จุลินทรีย์ในน้ำเสียจะทำการย่อยสลายสารอินทรีย์โมเลกุลใหญ่ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เป็นสารโมเลกุลเล็ก คือ กรดอะมิโน น้ำตาล และ กรดไขมัน

– Acidogenesis (Fermentation)

จุลินทรีย์จะนำสารโมเลกุลเล็กจากกระบวนการ Hydrolysis ไปใช้เป็นแหล่งพลังงานและแหล่งคาร์บอน และเปลี่ยนเป็นกรดไขมันระเหย,กรดอะซีติก,ไฮโดรเจน,คาร์บอนไดออกไซด์, แอลกอฮอลล์ โดยกระบวนการหมักภายในเซลล์

– Acetogenesis

เป็นกระบวนการที่จุลินทรีย์จะเปลี่ยนกรดไขมันระเหยไปเป็น อะซิเตต,ไฮโดรเจน, คาร์บอนไดออกไซด์

– Methanogenesis

จุลินทรีย์ในน้ำเสียที่เป็นแบคทีเรียกลุ่ม Methanogens จะทำการปลี่ยนไฮโดรเจนกับคาร์บอนไดออกไซด์ไปเป็นมีเทน และ เปลี่ยนอะซิเตตไปเป็นมีเทนกับคาร์บอนไดออกไซด์

ถ้าถูกใจ กด Like กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้แอดทีนะคะ

, ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย

————————————–

ปัญหาค่า BOD ไม่ผ่านมาตรฐาน

สำหรับอาคาร หมู่บ้าน ห้างสรรพสินค้า และโรงพยาบาล โดยกลุ่มนี้เราจะเรียกโดยรวมว่าน้ำเสียชุมชน

หากค่าBOD เกินมาตรฐาน ควรตรวจสอบระบบ ดังต่อไปนี้

  1. ตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสียของเราก่อนว่ารองรับปริมาณน้ำเสียได้เท่าไหร ต่อวัน

– โดยดูได้จากรายการคำนวนที่ออกแบบทำไว้

  1. ตรวจสอบปริมาณน้ำเสียว่าเข้าระบบจริงๆมากกว่ากว่าที่ระบบรองรับได้หรือไม่

– ถ้าน้ำเสียเข้าระบบมากกว่าที่ระบบรองรับได้ อาจต้องทำการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบใหม่

  1. ตรวจสอบปริมาตรบ่อเกรอะว่าเต็มหรือไม่

– ถ้ามีปริมาณตะกอนในบ่อเกรอะมาก ควรเรียกรถมาสูบออก

– ควรสูบตะกอนออกบ่อๆ เพื่อป้องกันตะกอนจับตัวแข็ง

  1. ตรวจสอบค่า DO ในระบบเติมอากาศ โดยปกติค่า DO ควรมากกว่า 2.0 mg/l หากค่า DO ต่ำกว่าที่กำหนด อาจเกิดจาก

– ประสิทธิภาพเครื่องเติมกาอาศที่ลดลงจากการใช้งานมานาน

– ปริมาณจุลินทรีย์ในระบบมากเกินไป

– การเติมอากาศไม่ทั่วบ่อ

  1. เกิดปัญหา ตะกอนไม่จมตัว (Bulking Sludge) และการเกิดตะกอนลอย (Rising Sludge) โดยดูได้ที่บ่อตกตะกอน

– การแก้ไขเบื้องต้น เพิ่มการเวียนตะกอนกลับ

  1. ค่า pH ในบ่อเติมอากาศไม่เหมาะสม โดยทั่วไปควรอยู่ที่ 6.8-7.2

– หาก pH ต่ำกว่า 6.5 เชื้อราอาจเจริญเติบโตได้ดีกว่าจุลินทรีย์

– หาก pH สูงกว่า 9.0 จุลินทรีย์จะเติบโตได้ช้าและ

  1. การ สูบตะกอนย้อนกลับมากหรือน้อยเกินไป

– หากสูบตะกอนย้อนกลับมากเกินไป จะทำให้ระยะเวลาของการสัมผัสของน้ำเสียกับจุลินทรีย์ในถังเติมอากาศลดลง

– หากสูบตะกอนย้อนกลับน้อยเกินไป จะทำให้เกิดตะกอนสะสมในถังตกตะกอนและหลุดไปกับน้ำ

  1. ปริมาณตะกอนจุลินทรีย์ในระบบมากเกินไป โดยปกติใช่วิธีการวัดจาก SV30 ไม่ควรเกิน 600 ml/l

– หากมีปริมาณตะกอนจุลินทรีย์มากเกินไปต้องทำการสูบออกเพื่อควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ให้เหมาะสม

  1. โทรหาผู้เขี่ยวชาญ ช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหา

– หากไม่สามารถแก้ไขปัญหาเองได้ ต้องหาตัวช่วย เพื่อให้การแก้ไขถูกต้องและตรงจุด

เรายินดีให้คำปรึษาไม่มีค่าใช้จ่าย

, ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย , ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย , ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย , ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย

————————————–

การกำจัดน้ำมันและไขมัน

ทั้งน้ำมันและไขมัน จะถูกย่อยด้วยจุลินทรีย์ได้ยาก และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมากโดยเฉพาะน้ำมันที่อาจจะมาจากร้านซ่อมรถ โรงเคาะพ่นสี สถานีจ่ายน้ำมัน รวมถึงน้ำเสียจากร้านอาหาร โรงงานหรืออาคารต่างๆ ก็มีน้ำมันหรือไขมันอยู่เช่นกัน ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพของการบำบัดน้ำเสียด้วยชีวภาพลดลงมากๆ จึงต้องมีการกำจัดพวกน้ำมันและไขมันออกก่อนที่จะเข้าสู่ระบบบำบัด ซึ่งมีอยู่หลายวิธี ไปดูกันน

1.เติมคลอรีน โดยการเติมสารละลายคลอรีนลงในถังตกตะกอนแรก โดยทั่วไปจะใส่คลอรีนประมาณ 2-5 mg/l
2.เติมคลอรีน + เป่าอากาศ ใช้ก๊าซคลอรีนผสมกับอากาศเพื่อเป่าลงในถังเป่าอากาศ โดยทั่วไปจะใส่คลอรีนประมาณ 5-10 mg/l และเป็นวิธีที่ได้ผลดีกว่าการเติมคลอรีนอย่างเดียว
3.การทำให้ลอย เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากเพราะง่ายและมีประสิทธิภาพที่ค่อนข้างสูง โดยอาศัยฟองอากาศพาน้ำมันและไขมันขึ้นมาบนผิวน้ำ และใช้การกวาดหรือตักไขมันและน้ำมันออกจากถัง
4.การเป่าอากาศ ใช้การเป่าอากาศลงในน้ำ ฟองอากาศจะทำให้ไขมันต่างๆลอยขึ้นมาทำให้กวาดตะกอนต่างๆออกจากถัง ลดค่า BOD COD TSS ได้อีกด้วยนะ
5.การกำจัดด้วยถังดักไขมัน น้ำมันและไขมันจะแยกตัวออกจากน้ำเสียตามความถ่วงจำเพาะ เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากเนื่องจากราคาถูก แต่แลกมาด้วยระยะเวลาในการกำจัดน้ำมันและไขมันที่นานขึ้น

, ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย

————————————–

สวัสดีวันทำงานกลางสัปดาห์ค่ะทุกคนน

วันนี้แอดมินขอนำเสนอ ปัญหายอดฮิตสำหรับระบบบำบัดน้ำเสียแบบตะกอนเร่ง หรือ AS นั่นก็คือ “ปัญหาตะกอนลอย” นั่นเองง!

สาเหตุเกิดจากอะไรแล้วเราจะแก้ไขยังไงกันดีนะ ไปดูกันเลยค่า

ปัญหาตะกอนลอยเกิดมาจาก 2 สาเหตุดังนี้

1.Rising Sludge (สภาวะตะกอนลอย)
– เกิดจากการสะสมของตะกอนเป็นเวลานาน ทำให้เกิดก๊าซไนโตรเจนจากปฏิกิริยา Denitrification ทำให้ตะกอนลอยขึ้นมาที่ผิวน้ำ
– Check ได้โดย มีฟองอากาศฝุดขึ้นมาพร้อมกับตะกอนลอยขึ้นมา

– แก้ไข เพิ่มอัตราการสูบตะกอนกลับ เพิ่มอัตราการระบายตะกอน
2.Bulking Sludge (สภาวะตะกอนไม่จมตัว)
– เกิดจากจุลินทรีย์เส้นใยเติบโตในระบบบำบัดน้ำเสียส่งผลให้ตะกอนไม่จมตัว
– Check ได้โดย SVI มีค่าเกิน 100 pH ต่ำกว่า 6.5
– แก้ไข คุมให้ค่า DO ในถังเติมอากาศ > 2 mg/l คุม pHให้อยู่ในช่วง 6.5 -8.0 เติมครอลีน หรือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ Return Sludge

หรือถ้ายังแก้ไขปัญหาเหล่านี้ไม่ได้ นึกถึง ENCARE นะคะ

อย่าลืมกด Like กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้แอดด้วยนะคะ

, ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย , ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย , ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย , ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย

————————————–

ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ MBR ชื่อเต็มๆ ก็คือ Membrane bioreactor คุ้นๆใช่ไหมล้าา มาทำความรู้จักกันเลยค่ะ #mbr #ระบบmbr #membranebioreactor

Membrane Bioreactor เป็นการผสมผสานระหว่างการใช้จุลินทรีย์และการกรองผ่านเมมเบรนโดยเลี้ยงจุลินทรีย์ในถังเติมอากาศเช่นเดียวกันกับ AS แต่การแยกน้ำใสออกจากตะกอนของจุลินทรีย์จะใช้การกรองผ่านเยื่อเมมเบรนที่มีรูขนาดเล็กๆ ทำให้ได้น้ำที่สะอาดและรวดเร็วกว่าการใช้ระบบ AS ธรรมดา

ข้อดี

– ขนาดเล็กกว่าระบบ AS 2-3 เท่า เนื่องจากไม่ต้องใช้ถังตกตะกอนและถังกรองทราย เหมาะสำหรับระบบที่มีพื้นที่จำกัด

– คุณภาพน้ำที่ออกจากระบบบำบัดดีกว่าระบบ AS เพราะเมมเบรนสามารถกรองพวกจุลชีพเชื้อโรคต่างๆ และทำให้ไม่ต้องกังวลว่าตะกอนเชื้อจะหลุดไปถังน้ำใสอีกด้วย

– มีความรวดเร็วในการบำบัด เนื่องจากไม่ต้องรอตกตะกอนเชื้อ

ข้อจำกัด

– มีราคาสูงกว่าระบบบำบัดทั่วไป

กด Like กดแชร์ให้แอดด้วยนะคะ

, ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย

————————————–

สวัสดีตอนเที่ยงค่ะ ลูกเพจที่น่ารักทุกคน ทานข้าวกันรึยัง เป็นยังไงกันบ้างคะ ช่วงนี้ฝนตกบ่อยอากาศเปลี่ยนแปลง รักษาสุขภาพกันด้วยนะคะ

วันนี้จะพาทุกๆคนมารู้จักกับ “การบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้ออกซิเจน” หรือ แบบ Anaerobic นั่นเองงง

มาดูกันค่ะ ว่าทำไมต้องไม่ใช้ออกซิเจนแล้วมันดียังไงกันนะ หาคำตอบได้ที่โพสนี้เลยค่า

อย่าลืมกด Like กดแชร์ ให้แอดมินด้วยนะคะ

, ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย , ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย , ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย , ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย

————————————–

งานตรวจสอบประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสีย

การแก้ปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียไม่สามารถบำบัดน้ำได้ผ่านตามมาตรฐานน้ำทิ้ง

หนึ่งในการบริการของบริษัท เอ็นแคร์ อินโนเวชั่น จำกัด

ไม่เพียงช่วยแก้ปัญหาการเดินระบบ เรายังวิเคราะห์ตรวจสอบ และหาทางป้องกันปัญหาอย่างยั่งยื่น

ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบ : น้ำเสียไม่ผ่านมาตรฐาน ทั้งๆที่การเดินระบบตามเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

แนวทางการตรวจสอบ :

  1. ชนิดของระบบที่มีในปัจจุบันและการทำงานของระบบ
  2. ปริมาณน้ำเข้าระบบและค่าความสกปรก ที่ระบบรองรับได้
  3. ความรู้ ความเข้าใจของผู้ควบคุมระบบและผู้ปฏิบัติงาน
  4. การดูแลอุปกรณ์ เครื่องจักร ระบบท่อและระบบไฟฟ้า
  5. เครื่องมือ ที่ใช้ตรวจสอบ

ซึ่งที่กล่าวมาเป็นข้อควรทราบในการดูแลให้ระบบบำบัดน้ำเสียสามารถบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อแนะนำ : ควรมั่นให้ความรู้ผู้ปฏิบัติงานและผู้ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย โดยส่งเข้าอบรม อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

ในส่วนของการแก้ไข ต้องให้วิศกรหรือผู้ชำนาญการเข้าตรงจสอบและดูรายละเอียดของระบบ เพื่อนำเสนอการแก้ไขที่ถูกต้องต่อไป

ท่านใดสนใจการบริการจาก ENCARE ทักเรามาได้เลยจ้า

, ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย , ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย , ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย , ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย

————————————–

สวัสดีค่ะ วันนี้แอดอัพให้เป็น Clip เลยจ้า

เกี่ยวกับ Jar Test Cr6+ และเจ้าพวกโลหะหนัก

อธิบายสารเคมี อุปกรณ์การทดลอง ครบๆ

อยากจะบอกว่าการบำบัด Cr6+ หาดูได้ยากนะ ^^ แต่แอดจัดให้

ไม่ว่าจะ มือใหม่ มือเก่า หรือวางมือไปนานแล้ว ก็ฟังเพลินๆกันได้นะ ฟังง่ายได้ความรู้

หากถูกใจ กด Like กด Share ให้แอดด้วยนะคะ

Happy Friday Na Ja

ท่านใดสนใจการบริการจาก ENCARE ทักเรามาได้เลยจ้า

————————————–

อรุณสวัสดิ์ค่ะลูกเพจทุกคนน วันนี้แอดมินจะมาพูดเรื่อง “ระบบบำบัดแบบ Fixed Film Aeration” ค่า เราใช้ระบบนี้กันเยอะ แต่ว่าไม่ค่อยรู้จักหรือเข้าใจกันสักเท่าไหร่ ฉะนั้นเรามาทำความรู้จักกับระบบนี้กันค่า

อะแฮ่ม แอดได้แนบผลงานระบบแบบ Fixed Film Aeration ของ Encare มาให้รับชมกันด้วยนะคะ

อย่าลืม กด Like กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้แอดด้วยนะคะ

, ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย , ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย , ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย , ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย

————————————–

สวัสดีค่ะลูกเพจที่น่ารักของแอดมิน วันนี้แอดจะมาแนะนำ “อุปกรณ์วิเศษ” ที่สำคัญมากกกๆๆ แต่หลายๆคนอาจมองข้ามไป นั่นก็คืออ “static screen” หรือ “ตะแกรงดักขยะ” นั่นเองง!!

Q : เจ้าตัว static screen มันคืออะไร?

A : น้องคือตะแกรงดักขยะ มีไว้เพื่อดักเศษขยะ ใบไม้ ตะกอนต่างๆ หรือเศษชิ้นส่วนที่หลุดออกมาจากไลน์ผลิตพร้อมกับน้ำเสียของเรา มีหลากหลายขนาดด้วยกัน สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมเลยจ้า

Q : แล้วมันสำคัญยังไงหรอ?

A : ป้องกันเศษขยะหรือชิ้นส่วนต่างๆหลุดเข้าไปในระบบบำบัด เพราะถ้าหากเผลอหลุดเข้าไปแล้วเนี่ย เจ้าเศษต่างๆพวกนั้นมันอาจจะทำให้อุปกรณ์และเครื่องจักรในระบบบำบัดของเราเสียหายได้เลยนะ! เช่น ปั๊มตัน ใบกวนเสียหาย/แตกหัก รบกวนการทำงานของระบบบำบัด ฯลฯ เยอะแยะเลยใช่ม้า ปัญหาที่ตามมา

Q : ติดตั้งตรงไหนดีนะ?

A : ต้องติดตั้งน้อง static screen ในขั้นแรกของระบบบำบัดเลย เพื่อเตรียมน้ำเสียให้พร้อมกับการบำบัดขั้นต่อไป

Q : ติดตั้งแล้วดูแลยังไงบ้าง?

A : แค่ทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ ไม่ให้ตะแกรงอุดตัน เพื่อประสิทธิภาพที่ดีและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานของน้อง static screen

อย่าลืม กด LIKE กด Share ให้แอดมินด้วยน้าา

, ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย

————————————–

Anoxic Treatment System

เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่รวมกันระหว่างระบบที่มีอากาศกับไม่มีอากาศมาทำงานด้วยกัน โดยมีกระบวนการที่เกิดขึ้นในระบบคือ

NH3->NO3->NO2->NO->N2O->N2(Gas)

โดยในการออกแบบต้องมีระบบแรกต้องเป็นระบบไม่มีอากาศเพื่อให้เกิดปฎิกิริยา Denitrification และตามด้วยระบบที่มีอากาศเพื่อให้เกิดปฏิกิริยา Nitrification และตามด้วย Sedimentation tank เพื่อใช้ในการวนจุลินทรีย์ใน Sludge กลับเข้ามาในระบบ ตามแบบการออกแบบ Modified Ludzack-Ettinger process โดยแนวคิดการออกแบบคือการใช้ Nitrate ที่ได้มาจากระบบที่ใช้อากาศมาเป็น Oxygen source ให้กับแบคทีเรีย Facultative ในระบบที่ไม่ใช้อากาศเพื่อทำให้เกิดกระบวนการ

โดยการทำงานของระบบเริ่มจากน้ำเข้าที่ระบบที่ไม่มีอากาศและไหลผ่านไปยังระบบที่มีอากาศเพื่อให้เกิดการ Nitrification และทำให้เกิด Nitrate ขึ้นในน้ำเพื่อใช้ในการวนน้ำที่มีการผสมของ Nitrate กลับเข้าไปที่ระบบที่ไม่มีอากาศ และน้ำก็จะไหลไปที่ Sedimentation tank ทำให้เกิดการตกตะกอนมีการเกิด Sludge ขึ้น

และจะทำการวนกลับไปที่ระบบไม่มีอากาศแบบเดียวกับน้ำที่ผ่านการ Nitrification โดยกระบวนการสมบูรณ์จะเริ่มขึ้นเมื่อที่ระบบไม่มีอากาศมีน้ำที่รวมกันของน้ำที่เข้ามาในระบบ, น้ำที่มีส่วนผสมของ Nitrate จากการ Nitrification ที่ระบบที่มีอากาศ และ Sludge ที่มาจาก Sedimentation tank. น้ำเสียที่เข้ามาในระบบจะทำหน้าที่เป็น Carbon source ให้กับแบคทีเรีย, Sludge ที่มาจาก Sedimentation tank จะใช้ในการเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์, น้ำที่มีส่วนผสมของ Nitrate ที่มาจากระบบที่มีอากาศจะทำหน้าที่เป็น Oxygen source. เมื่อผ่านกระบวนการแล้วน้ำก็จะไหลผ่านออกจาก Sedimentation tank.

.

ท่านใดสนใจการบริการจาก ENCARE ทักเรามาได้เลยจ้า

, ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย

————————————–

สายัณห์สวัสดิ์ค่ะ ลูกเพจที่น่ารักของแอดดด ฮืออ หายหน้าหายตาไปนานมากๆเลยช่วงนี้ แต่แอดก็ยังไม่ลืมที่จะมา Update สาระความรู้ต่างๆเกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสียน้าา

เอาล่ะ วันนี้แอดมินจะมาพูดเรื่อง “วิธีการบำบัดเหล็กออกจากน้ำเสียด้วยการใช้ออกซิเจน” ค่าา บ้านเราก็มีโรงงานที่เกี่ยวกับกับโลหะเยอะใช่ม้า ฉะนั้นวันนี้จะมาบอกวิธีการบำบัดเหล็กออกจากน้ำเสีย ไปดูกันเล้ยย

โดยปกติแล้ว เหล็กในน้ำจะอยู่ในรูปของ Ferrous (Fe2+) ซึ่งมีคุณสมบัติสามารถละลายน้ำได้ดี ฉะนั้นเราจะต้องทำให้ Ferrous มาอยู่ในรูปของ Ferric (Fe3+) ซะก่อน เพราะว่า Ferric สามารถเกิดการตกตะกอนกลายเป็นสนิมสีส้มๆได้ โดยการเติมอากาศให้เจ้าตัวออกซิเจน (O2) เข้าไปทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกับ Fe2+ ให้ Fe2+ กลายเป็น Fe3+ ที่มีความสามารถในการละลายต่ำ หลังจากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการตกตะกอนทางเคมีต่อไปนั่นเองง

กด Like กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้แอดด้วยนะคะ

, ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย

————————————–

เชื่อว่าลูกเพจของเราจะต้องเคยได้ยินคำว่า “ระบบ DAF” ผ่านหูหรือผ่านตากันมาบ้าง แต่เอ…มันคืออะไรกันนะ วันนี้แอดจะมาเล่าให้ทุกคนฟังค่ะว่ามันคืออะไร ใช้ทำอะไร ไปดูกันเล้ยย

กด Like กดแชร์ ให้แอดมินด้วยนะคะ

, ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย , ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย

————————————–

สวัสดีตอนบ่ายค่าา ทานข้าวเที่ยงอิ่มๆ ตกบ่ายมาแอดก็ชักจะง่วงแล้วสิ55555555555 เลยมาทักทายลูกเพจกันสักหน่อย

วันนี้แอดเอาเรื่อง “โอโซน (Ozone)” มาฝากจ้าา ที่เขาว่ากันว่า พักสมองไปสูด Ozone มันสูดไม่ได้นะคะทุกคน Ozone ดีต่อน้ำเสียค่ะ แต่ไม่ดีต่อปอดน้าา เพราะ Ozone จัดเป็นสารพิษที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อปอดของเราได้ #โอโซน #ฆ่าเชื้อโรคด้วยโอโซน #Ozone

Ozone เป็นสารออกซิแดนท์ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการออกซิไดซ์ สามารถกำจัดแบคทีเรียและจุลชีพอื่นๆ รวมถึงไวรัสด้วยการทำลายกำแพงเซลล์ นิยมใช้ในงานบำบัดน้ำและน้ำเสีย ในเรื่องของมลพิษ สี กลิ่นและแบคทีเรียต่างๆในน้ำซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าการใช้คลอรีน และหลังจากที่ Ozone ทำปฏิกิริยาแล้วจะได้ผลิตภัณฑ์เป็นออกซิเจนซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นการเติมอากาศในน้ำได้อีกด้วย

ข้อดี

– ช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำเสีย

– ไม่เพิ่มค่า TDS

– ไม่มีสารตกค้าง

– ไม่ทำให้ค่า pH ของน้ำเสียเปลี่ยนแปลง

ข้อเสีย

– ก๊าซโอโซนเป็นพิษแบบเฉียบพลันต่อสิ่งมีชีวิต

– เป็นสารออกซิแดนท์ สามารถก่อให้เกิดมะเร็งได้

, ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย

————————————–

ตอนนี้ก็ใกล้ได้เวลาส่ง “รว.”แล้วนะจ๊ะ

ใครยังไม่มีผู้ควบคุม ที่จัดทำเอกสาร รว. ENCARE มีบริการนะ ^^

บทความนี้ก็จะเกี่ยวกับเอกสาร #รว. ถ้าตัวหนังสือในรูปภาพเล็กไปก็กดเข้ามาอ่านตรงนี้ได้นะ

### เอกสาร รว. ####

**กฎหมายที่เกี่ยวข้อง**

– ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดชนิดและขนาดของโรงงานกำหนดวิธีการควบคุมการปล่อยของเสียมลพิษหรือสิ่งใดที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมกำหนดคุณสมบัติของผู้ดูแลผู้ปฏิบัติงานประจำและหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมดูแลสำหรับระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2554

– ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงานพ.ศ.2558

– ประการกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง แบบรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ.2559

– ประการกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดลักษณะเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการตรวจสอบและควบคุมการรั่วซึมของสารอินทรีย์ระเหยจากอุปกรณ์ในโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ.2555

– ประการรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง การรายงานผลการตรวจวัดการรั่วซึมของสารอินทรีย์ระเหยอุปกรณ์และซ่อมแซมอุปกรณ์ในโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ.2556

**รอบการจัดส่งรายงาน**

– รอบที่ 1 ม.ค. – มิ.ย. ส่งภายใน 1 ก.ย.

– รอบที่ 2 ก.ค. – ธ.ค. ส่งภายใน 1 มี.ค. ของปีถัดไป

**บทลงโทษ**

– ไม่ส่ง เอกสาร รว. ตามมาตรา 46 แห่ง พรบ.โรงงาน พ.ศ.2535 ปรับไม่เกิน 20,000 บาท

– กรณีไม่มีบุคลากร #ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษ ตามมาตรา 45 แห่ง พรบ.โรงงาน พ.ศ.2535 ปรับไม่เกิน 200,000 บาท

**ชนิดของรายงาน รว.**

– รว.1 คือ การายงานข้อมูลทั่วไปของโรงงาน

– รว.2 คือ การรายงานเกี่ยวกับน้ำเสีย

– รว.3 คือ การรายงานเกี่ยวกับอากาศเสียจากปล่อง

– รว.3/1 คือ การรายงานเกี่ยวกับสารอินทรีย์ระเหย

, ระบบบำบัดน้ำเสีย, Encare Innovation - บริษัทที่ปรึกษาด้านควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย

————————————–